วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันไหว้บ๊ะจ่าง












กิจกรรมบ๊ะจ่าง端午节
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ภาษาจีนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเทศกาลวันไหว้บ๊ะจ่างขึ้นเพื่อให้นักเรียนและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมของชาวจีนได้ให้ความรู้เรื่องประวัติความเป็นมาและตำนานของเทศกาลบ๊ะจ่างโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/1ร่วมแสดงละครตำนานของเทศกาลบ๊ะจ่าง ทางกลุ่มสาระได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560เวลา 12:00-12:30 น ณ.เวทีโรงอาหารมัธยม

เทศกาล บ๊ะจ่าง(端午节ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงวเป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ของปฎิทินจีน  และสำหรับประเทศไทย ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน 2557  หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล บ๊ะจ่างมาจากไหนใครเป็นคนกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่และมีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บะจ่าง

               เทศกาล บ๊ะจ่าง หรือหรือเทศกาลไหว้ขนมจ้าง เรียกชื่อตามตำราว่าโหงวเหว่ยโจ่ยบ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่าจั่ง粽子แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า ปักจั่งเทศกาลบ๊ะจ่างเป็น ใน เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือ  เทศกาลตรุษจีน  เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

                                    ตำนานเทศกาลไห้วขนมบ๊ะจ่าง
               ตํานานเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่าง  เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๖๘  ในรัชสมัยของกษัตริย์ก๊กฉู่  มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า คุกง้วน หรือชีหยวน  (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช)  ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นที่ปรึกษาและดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชีหยวนเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง  จึงทำให้ชีหยวนเป็นที่รักใคร่ของประชาชน

               เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชีหยวน ด้วยความที่ชีหยวนนั้นเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชีหยวนไปขัดขวางการโกงกินบ้านโกงกินเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น  พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ไคล้ชีหยวนต่างๆ นานา จนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มมีใจเอนเอียง 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขุนนางชีหยวน      
                                      จนในที่สุดฮ่องเต้หูเบาก็หลงเชื่อ สั่งให้เนรเทศชีหยวนออกจากเมืองไป  ระหว่างที่ร่อนเร่พเนจรอยู่นั้น  ชีหยวนก็ได้แต่งบทกลอนเล่าถึงชีวิตที่รันทดและความอยุติธรรมของฮ่องเต้ไว้มากมาย พอความทราบถึงฮ่องเต้ ก็ยิ่งทรงพิโรธหนักเข้าไปอีก  ส่วนชีหยวนก็ยังอดรนทนไม่ได้ที่จะกราบทูลเสนอแนะข้อราชการที่เป็นประโยชน์กับทางราชการให้กับองค์ฮ่องเต้  แต่ฮ่องเต้ก็ไม่ทรงสนพระทัยชีหยวนเลยแม้แต่น้อย     
                                    ขุนนางชีหยวนน้อยอกน้อยใจมาก เลยไปกระโดดน้ำตายที่แม่น้ำไหม่โหลย ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตรงกับวันที่ เดือน นั่นเอง  (บางตำราก็ว่ากระโดดน้ำที่ แม่น้ำเปาะล่อกัง  บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง)
          พอพวกชาวบ้านรู้ข่าว  ก็พากันไปช่วยงมหาศพ แต่หาศพเท่าไหร่ก็หาไม่พบ ชาวบ้านเลยเอาข้าวโปรยลงไปในน้ำพร้อมกับอธิฐาน ขออย่าให้ พวกปูปลามากัดกินศพของชีหยวนเลย กินแต่ข้าวที่โปรยไว้ให้ก็พอหลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชีหยวน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง หลังจากที่ทำมาได้ ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่นถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมดเกลี้ยง เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ เพื่อที่เหล่าสัตว์น้ำจะได้นึกว่าเป็นต้นไม้อะไรสักอย่าง จะได้ไม่กินเข้าไป
“         หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีก ว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี ชีหยวนจึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน
“         จากนั้นเป็นต้นมา ในแต่ละปีชาวเมืองเสฉวนซึ่งอยู่ติดกับมณฑลยูนนาน ที่ซึ่งชีหยวนปกระโดดน้ำตาย ก็จะมาร่วมกันระลึกถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์คนนี้ ด้วยการเอาใบจ่างมาห่อข้าวและกับ เมื่อห่อเรียบร้อยแล้วจึงเอาไปโยนลงน้ำ และนี่เองจึงเป็นที่มาของ เทศกาลไหว้ขนมจ้าง ที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน